วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 6 การวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ

บทที่  6
การวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ
               คนวัยหนุ่มสาวอาจคิดว่ายังไม่ต้องรับรองวางแผนอะไรสำหรับการเกษียณ เพราะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องอนาคตอันไกล แต่คุณรู้ไหมว่าโดยเฉลี่ยของคนไทยในปัจจุบัน จะมีอายุยืนประมาณ 78 ปี นั้นหมายความว่าหากเราเกษียณการทำงานตั้งแต่อายุ 60 ปี เราอาจจะต้องใช้ชีวิตในช่วงท้ายอีก 18 ปี คุณรู้หรือไม่ว่าเมื่อวันนั้นมาถึง จะต้องใช้จ่ายเท่าไหร่ แล้วคุณคิดว่าจะมีเงินใช้จ่ายเพียงพอไหมแต่หากคุณรอให้ถึงใกล้เกษียณแล้วจึงเริ่มออม คุณมั่นใจหรือไม่ว่าจะเก็บเงินได้ทันก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป มาสำรวจดีกว่าว่า วัยเกษียณของคุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เพื่อเริ่มต้นวางแผนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ทำอย่างไรดีหากเก็บเงินไว้ใช้ไม่พอตอนเกษียณ

หากคำนวณดูแล้วพบว่าคุณเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายและทำตามฝันของคุณได้ตลอดช่วงเกษียณ      ของคุณ และพอเหลือทรัพย์สินเป็นมรดกให้คุณที่รักบ้างก็ถือว่าคุณประสบความสำเร็จใน การวางแผนการเงินเป็นอย่างดี แต่ถ้าพบว่าไม่สามารถเก็บเงินได้พอใช้ในวัยเกษียณ ควรรีบพิจารณา    ดังนี้

1. คุณอาจยังไม่พร้อมจะเกษียณได้ตามที่คิดไว้ อาจต้องเตรียมตัวยืดเวลาการทำงาน     ออกไปอีก
2. รีบเก็บเงินออมเพิ่มขึ้น ยิ่งเร็วยิ่งดี และควรเก็บอย่างสม่ำเสมอ
3. นำเงินเก็บของคุณไปลงทุน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้งอกเงย โดยหาวิธีลงทุนที่เหมาะสม เพื่อให้เงินช่วยทำงานแทนคุณอีกทาง
4. หารายได้เสริม ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหลังเกษียณ และอาจตัดสิ่งที่คุณวาดฝันเอาไว้ออกไป รวมทั้งดำรงชีวิตอย่างประหยัดและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ลง
เกษียณก่อนกำหนด
โอกาสเกษียณก่อนกำหนดนั้นอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งมีทั้งแบบสมัครใจ และไม่สมัครใจ

·         เกษียณแบบสมัครใจ อาจเกิดขึ้นจากความตั้งใจ เช่น ขอเข้าโครงการเกษียณก่อนอายุ 60 ปี ( Early Retire ) ซึ่งส่วนใหญ่จะได้เงินมาก้อนหนึ่งเพื่อใช้จ่าย มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุงานและเงินเดือนในเดือนสุดท้าย
·         เกษียณแบบไม่สมัครใจ หรือเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันมาก่อน เช่น มีปัญหาด้านสุขภาพ หรือผลจากสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้นายจ้างต้องลดกำลังคน เป็นต้น ถ้าคุณยังไม่มั่นใจว่าอนาคตจะมีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายในวัยเกษียณหรือไม่ คงถึงเวลาแล้วที่คุณต้องนึกถึงการออม และการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเพียงพอสะสมเงินเก็บไว้ให้ได้ตามเป้าหมาย เช่น

       กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
       กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ  (RMF)


 แต่ไม่ว่าจะเกษียณแบบไหนสิ่งที่คุณต้องทำคือ ตรวจสอบเงินเก็บของคุณว่ามีเพียงพอกับชีวิตหลังเกษียณหรือไม่ เพื่อจะใช้ชีวิตบั้นปลายได้อย่างมีความสุข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น