วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 1 การบริหารการเงินส่วนบุคคลและการงานแผนทางการเงิน

บทที่  1
การบริหารการเงินส่วนบุคคลและการงานแผนทางการเงิน

               เงินมีบทบาทต่อบุคคลเป็นอย่างยิ่งเพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้เงินจับจ่ายใช้สอยสิ่งของจำเป็นสำหรับการดำรงชีพประจำวันของบุคคลเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่บุคคล เงินเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลอย่างมากที่จะให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจสู่ความมั่นคงหรือความมั่นคง (Wealth) ในครอบครัวตน
1.  ความหมายของเงิน
                1.1  เงิน (Money)
                       เงิน (Money) คือ  สิ่งที่สังคมได้สมมุติขึ้น และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของสังคมในขณะนั้น  เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ใช้ในการชำระหนี้ตามความต้องการ (จรินทร์  เทศวาณิช 2526 : 16 )
                       เงิน (Money)  หมายถึง “สิ่งใด ๆ ที่สังคมยอมรับโดยทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่งและในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยใช้ชำระค่าสินค้าและบริการรวมทั้งการชำระหนี้ในปัจจุบันและในอนาคต” (วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน 2545 : 108)
                      เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้โดยใช้เป็นเครื่องวัดและมูลค่าและบริการเป็นหน่วยเงินตราตามเวลา สถานที่ที่กำหนด ดังนั้นเงินจึงเป็นที่ยอมรับจากประชาชนทั่วไปเงินที่ใช้ในระบบเศรษฐกิจแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ เงินเหรียญ (Coins) เงินกระดาษ (Paper money) และเงินธนาคาร (Scriptural money) คือเงินฝากกระแสรายวันซึ่งจะต้องสั่งจ่ายตามคำสั่งของเจ้าของบัญชีเงินฝากกระแสรายวันด้วยเช็ค
1.2  การบริหารการเงินส่วนบุคคล  (Personal  literacy)
                      การบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Literacy) เป็นทักษะการจัดการเงินของบุคคลว่าด้วยเรื่องการจัดหาเงินรายได้เพื่อมาใช้ในการดำรงชีพของบุคคลขณะเดียวกันจะต้องหาวิธีการหรือเทคนิคของการใช้จ่ายเงิน การออมและการลงทุนของบุคคลให้มีประสิทธิภาพจนบุคคลมีตามความมีอิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom) คือสภาวะมีอิสรเสรีภาพพอจะเลือกใช้ชีวิตและเลือกอาชีพแบบที่ตนเองต้องการโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีเงินไม่พอใช้จ่ายการบริหารการเงินส่วนบุคคลเป็นทักษะชีวิต (Life Skill) ของแต่ละบุคคลการศึกษาเรื่องการบริหารการเงินส่วนบุคคลมีเนื้อหาสาระครอบคลุมเรื่องต่อไปนี้
1.2.1           การหารายได้ (Earning)
1.2.2           การใช้จ่ายเงิน (Spending)
1.2.3           การออมเงิน (Saving)
1.2.4           การลงทุน (Investing)
2.  การวางแผนการเงินส่วนบุคคล และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล (Personal financial planning)  คือ กระบวนการกำหนดแนวทางการใช้เงินอย่างมีทิศทางให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน เหมาะสมกับรายได้ที่ได้รับและเพื่อให้เกิดความมั่งคั่งทางเงินในอนาคต
                2.1  ความสำคัญของการวางแผนการเงินส่วนบุคคล
การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลมีความสำคัญ  ดังนี้
2.1.1  เป็นเครื่องมือควบคุมการใช้จ่ายเงินส่วนบุคคล  เพราะความต้องการบริโภคสินค้าและบริการมีมากมายไม่จำกัด   หากปราศจากการควบคุมที่ดีก็จะมีภาระหนี้สินมากมายจนขาดอิสรภาพทางการเงินในที่สุด
2.1.2  เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายก่อให้เกิดการเงินออม  การวางแผนทางการเงินจะทำให้บุคคลทราบว่าตนมีรายการจ่ายที่เกิดขึ้น ว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือยได้ทำให้บุคคลสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นได้ ทำให้มีเงินออมเก็บไว้ใช้อนาคต
2.1.3  เป็นเครื่องมือป้องกันปัญหาหนี้สิน  การวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ดีจะทำให้บุคคลใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอมมีการใช้จ่ายเงินตามฐานะรายได้ของตนไม่ต้องมีภาระหนี้สินที่เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว
2.1.4  เป็นเครื่องมือสร้างความมั่งคั่งและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  ความมั่นคงและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง  เกิดจากการที่บุคคลมีรายได้สูงกว่ารายจ่าย  เพื่อให้มีเงินออมมากพอที่จะเป็นหลักประกันของครอบครัวว่ามีความมั่นคงที่ยั่งยืนอันยาวนานตลอดไป  เช่น  การมีบ้านและที่ดิน  มีหุ้นในบริษัท  มีกิจการที่เป็นแหล่งรายได้ที่มั่นคง เป็นต้น
2.1.5  ช่วยทำให้สามารถประเมินฐานะทางการเงินของตนเองถูกต้องตามความเป็นจริง  การวางแผนการเงินส่วนบุคคลจะทำให้บุคคลทราบว่ามีรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนเท่าใดทำให้บุคคลประเมินทางการเงินของตนเองได้ตรงตามความเป็นจริงทำให้ระมัดระวังไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัว 
2.2  กลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการวางแผนทางการเงิน
                หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสามารถนำมาประยุกต์ใช้หลักในการออมและการลงทุนได้เป็นอย่างดี  คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” กับการวางแผนทางการเงินเป็นแนวทางปฏิบัติให้การดำรงตนด้วยความพอประมาณ  ความมีเหตุผลและการมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดี  ซึ่งถ้าหากปฏิบัติได้ตามหลักอย่างครบถ้วนแล้ว เชื่อได้ว่าทุกคนจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข  ไม่ว่าจะใน 3-4 ปี  หรือ 20-30 ปี  ข้างหน้าก็ตาม
    2.2.1  ความพอประมาณ  หมายถึงการเลือกดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับรายได้รายจ่าย  ลักษณะความเป็นอยู่ และนิสัยของเรา โดยไม่โลภหรืออยากได้อยากมีมากจนเกินไปอาจทำได้โดยการแบ่งเงินที่มีอยู่ในวันนี้ให้เป็นส่วน ๆ อย่างเหมาะสม เช่น จะออมเท่าไร ใช้เท่าไรจัดสรรเงินแต่ละส่วนให้เหมาะสมและยังช่วยทำให้ทราบถึงงบประมาณที่นำไปใช้ในการออมการลงทุน
                  2.2.2   ความมีเหตุมีผล  หมายถึงการตัดสินใจออมเงิน การใช้จ่ายเงินและลงทุนอยู่บนพื้นฐานของการมีสติและใช้ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจในแต่ละครั้ง ไม่ได้เชื่อหรือตัดสินใจทำเพียงเพราะได้ยินได้ฟังจากบุคคลรอบข้างเพื่อเลียนแบบกันเป็นการใช้ความคิดไตร่ตรองวิเคราะห์ตัดสินใจบนพื้นฐานของปัญญานั้น เป็นหลักการที่สอนอยู่ในพระพุทะศาสนาและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุก ๆ ด้านของชีวิต
                   2.2.3  ระบบคุ้มกันในตัวที่ดี  หมายความว่าให้ดำรงชีวิตตั้งอยู่บนความไม่ประมาทและควรเริ่มออก เริ่มลงทุนเพื่ออนาคตตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่รอให้เวลาผ่านไปอย่างไร้ค่า หรือใกล้เกษียณแล้วค่อนมาคิดกัน นอกจากนี้การมีระบบคุ้มกันตัวที่ดียังหมายถึงการเตรียมตัวในทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน สุขภาพ สังคมและการดำเนินชีวิต เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต
                2.3  การเริ่มต้นวางแผนทางการเงิน  แนวทางอย่างง่าย ๆ สำหรับการเริ่มต้นวางแผนทางการเงินที่ดีจะนำทางสู่ความมั่งคั่งตามความต้องการนั้นทำได้ ดังนี้
                2.3.1  ฝึกการมีวินัยทางการเงินให้แก่ตนเองก่อน คือ การรู้จักรายได้ รายจ่ายของตนว่ามีเงินใช้จ่ายอย่างพอเพียง กำหนดเป้าหมายทางการให้ชัดเจน โดยบุคคลจะต้องรู้จักประมาณตน
                2.3.2  การจดบันทึกรายรับรายจ่าย เป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็ได้ควรจดทุกวันจะจำรายรับ รายจ่ายได้แม่นยำกว่า
                2.3.3  ให้สำรวจตนเอง  2 เรื่อง คือ สถานะทางการเงินของตนเป็นอย่างไรและสำรวจอุปนิสัยการใช้เงินของตนเองเป็นอย่างไร เช่น  สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย ประหยัด มัธยัสถ์ เป็นต้น
                2.3.4  ให้จัดระเบียบทางการเงินของตนเกี่ยวกับ
                                1)  วิธีการควบคุมการใช้จ่ายเงินได้อย่างไร
                                2)  จะออมเงินเพื่อสำรองยามฉุกเฉินเท่าไร
                                3)  จะเก็บออมเงินเพื่อซื้อทรัพย์สินเท่าไร
                                4)  จะเก็บออมเงินยามเกษียณเท่าไร
                                5)  จะนำเงินออมไปลงทุนเท่าไร

3.  ลักษณะการวางแผนการเงินที่ดี
                3.1  การจัดทำแผนการเงินให้คำนึงถึงประโยชน์และความพอใจของคนในครอบครัวโดยส่วนรวม
                3.2  วิธีการและรูปแบบการทำแผนการเงิน  ควรทำได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากช้อนที่บุคคลสามารถกรอกรายการลงในแบบฟอร์มนั้น ๆ ได้ตลอดเวลา
                3.3  เป็นแผนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ๆ ไม่ใช่แผนที่จัดทำขึ้นอย่างสวยงามแต่นำมาใช้ไม่ได้และยุ่งยากเป็นภาระในการดำเนินชีวิตประจำวัน
                3.4  สามารถปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์และยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
                3.5  ควรมีการทดสอบและประเมินผลออกมาก่อนนำมาใช้ เพื่อพิจารณาว่ารายได้และรายจ่ายได้เกินขึ้นนั้นเป็นจริงตามแผนที่จัดทำไว้หรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในแผนการเงินที่ทำไว้จำนวนเท่าไรด้วยสาเหตุใด และมีวิธีการแก้ไขให้เป็นไปตามแผนได้อย่างไร
4.  ประโยชน์ของการวางแผนทางการเงิน
                4.1  ช่วยให้บุคคลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเนื่องจากการวางแผนการเงินส่วนบุคคลให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้
                4.2  ช่วยให้บุคคลจัดการรายรับ รายจ่าย และเงินออมของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                4.3  ช่วยให้บุคคลมีการควบคุมสถานะทางการเงินของตนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลมีภาระหนี้สินมากเกินไป
                4.4  ช่วยลดความวิตกกังวลทางการเงินของบุคคล เนื่องจากการวางแผนทางการเงินจะทำให้บุคคลคาดการณ์รายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคตแล้วนำไปวางแผนทางการเงินให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ตามต้องพร้อมจัดทำแผนการเงินรองรับไว้ด้วย
5.  ข้อเสนอแนะการวางแผนทางการเงิน
                ก่อนการวางแผนทางการเงินบุคคลควรรู้แนวคิดสำหรับการวางแผนทางการเงินคือ
                5.1  การวางแผนทางการเงินจะประสบความสำเร็จต้องมีการตั้งเป้าหมายอย่างเป็นระบบ เช่น  ต้องการซื้อกล้องถ่ายรูปดิจิตอล จำนวนเงิน 20,000 บาท ระยะเวลาออม 10 เดือนนั้นต้องออมเดือนละ 2,000 บาท เป็นต้น
                5.2  อย่าผัดวันประกันพรุ่ง ให้เริ่มต้นวางแผนทางการเงินกันตั้งแต่วันนี้ไม่ต้องรอให้หนี้สินล้นพ้นตัว หรือเกิดมรสุมชีวิตกับตนเองก่อนจึงวางแผนทางการเงิน
                5.3  ปรับเปลี่ยนความคิดที่ว่าคนรวย หรือคนมีรายได้ประจำเท่านั้นจะต้องวางแผนทางการเงิน ความจริงแล้วทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยควรมีการวางแผนทางการเงิน
                5.4  วิธีการวางแผนทางการเงิน สามารถเริ่มต้นด้วยตนเองอย่างง่าย ๆ เช่น ให้เริ่มต้นจากการจดบันทึกในสมุด 1 เล่มก็ทำได้โดยไม่จำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาทางการเงินราคาแพง ๆ เว้นแต่มีเงินจำนวนมาก เช่น ความรำกรวยเพราะการประกอบอาชีพ การถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับรางวัล ได้รับค่าตอบแทนจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกได้เหรียญทองเป็นเงินจำนวนมากเช่นนี้ควรจ้างที่ปรึกษาทางการเงินมาบริหารเงินให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองมากที่สุดทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
                5.5  รูปแบบการวางแผนทางการเงินเอกสิทธิ์ส่วนบุคคล รูปแบบการจัดทำแผนการเงินอาจแตกต่างกันได้ เนื่องจากเป้าหมาย รายได้ รายจ่ายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
                5.6  ให้ทบทวนแผนการเงินของตนเองอย่างสม่ำเสมอให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะแผนการเงินที่ดีต้องสามารถยืดหยุ่นปรับปรุงได้
6.  หลักการวางแผนการเงินส่วนบุคคล
                ขั้นตอนการวางแผนทางการเงินการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลมี 5 ขั้นตอนคือ
                ขั้นที่ 1  การประเมินสถานะภาพการเงินของบุคคลในปัจจุบัน ได้แก่ การพิจารณารายได้ค่าใช้จ่าย ทรัพย์สินภาระหนี้สินและจำนวนเงินออมที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อนำมาจัดทำงบการเงินส่วนบุคคล เช่น งบดุลส่วนบุคคล งบรายได้และค่าใช้จ่าย
                ขั้นที่ 2  การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน การมีเป้าหมายทางการเงินจะทำให้บุคคลสามารถกำหนดแนวทางที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการได้  ในการกำหนดเป้าหมายทางการเงินจะต้องระบุให้ชัดเจนตามหลัก SMART และควรเหมาะสมกับสถานะการเงินของแต่ละบุคคล
                ขั้นที่ 3  การกำหนดทางเลือกและการประเมินทางเลือก การเลือกวิธีจัดการเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่กำหนดไว้และพิจารณาเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เช่น การออมเงิน  การใช้จ่ายเงิน การลงทุนเพื่อให้มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นที่ต้องหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ หรือปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงิน เช่น นายธนาคาร นักบัญชี ตัวแทนประกันภัย  เป็นต้น ตามความเหมาะสมเพื่อประกอบการพิจารณาหาทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับตนเอง
                ขั้นที่ การปฏิบัติตามแผนการเงิน  กระบวนการสำคัญที่สุดในกระบวนการวางแผนการเงินส่วนบุคคลคือการปฏิบัติตามแผนการเงินที่กำหนดไว้หากไม่ปฏิบัติตามแผนการเงินที่วางแผนไว้ก็ตามก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างสูง
                ขั้นที่ การติดตามผลและปรับปรุงแผนการเงิน หลังจากปฏิบัติตามแผนการที่วางไว้แล้วลำดับต่อมาคือการติดตามผลว่าแผนการเงินนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่  สามารถปฏิบัติจริงได้หรือไม่  หากไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้จะต้องทำการปรับแผนการเงินใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป  เช่น  สถานทางการเงินของครอบครัว ภาวะเศรษฐกิจของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจึงต้องทบทวนและปรับปรุงแผนการเงินอยู่สม่ำเสมอ
7.  ปัจจัยพื้นฐานของการวางแผนการเงินส่วนบุคคล
                7.1  ผู้มีส่วนร่วมในการวาแผน  ในครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งผู้วางแผนการเงิน คือ หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้กำหนดแผนกการเงินร่วมกับสมาชิกในครอบครัวจะก่อให้เกิดความผูกพันภายในครอบครัวและยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจร่วมกัน  ถ้ามีการตัดสินใจนอกเหนือจากแผนการที่วางไว้ก็มักจะมอบให้เป็นการตัดสินใจของผู้นำครอบครัวเพียงผู้เดียว  ถ้าเป็นคนโสดก็จะวางแผนทางการเงินด้วยตนเอง
                7.2  รายได้ส่วนบุคคล  ได้แก่  รายได้ส่วนบุคคลสุทธิบุคคลสุทธิซึ่งเป็นจำนวนเงินรายได้หลังหักภาษีที่สมาชิกภายในครอบครัวมอบให้แก่ครอบครัว ควรวางแผนการเงินให้สอดคล้องกับรายได้สุทธิที่มีอยู่
                7.3  วิเคราะห์บันทึกทางการเงิน  เป็นการวิเคราะห์รายการจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ๆด้มากน้อยเพียงใดและมีการใช้จ่ายเงินไปในทางใดบ้าง เช่น  ค่าใช้จ่ายประจำ ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน  ค่าใช้จ่ายการศึกษาบุตร  เป็นต้น เพื่อช่วยให้การวางแผนทางการเงินในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
8. เป้าหมายชีวิต  (Life goal)
                เป้าหมายชีวิต (Life Goal) คือความต้องการที่ถูกกำหนดไว้ในอนาคตเพื่อเป็นหลักชัยในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ  การกำหนดเป้าหมายชีวิตเปรียบเสมือนการมีเข็มทิศนำทางที่จะทำให้เราดำเนินชีวิตอย่างมีทิศทางที่แน่นอนเพื่อให้การดำรงชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นมีความมั่นคงเป้าหมายของชีวิตมี  2 ลักษณะด้วยกันคือ
                8.1  เป้าหมายที่เป็นตัวเงินหรือเป้าหมายทางการเงิน  (Financial goal) เป็นเป้าหมายที่สามารถกำหนดเป็นตัวเงินได้เช่นต้องการเก็บออมเงินไว้ซื้อบ้านราคา  1,000,000 บาท  ต้องการเก็บออมเงินซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลราคา  570,000 บาท หรือต้องการเก็บออมเงินไว้สำหรับใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ  4,000,000 บาท  สิ่งสำคัญที่จะทำให้บุคคลบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้  คือการกำหนดจำนวนเงินที่แน่นอน
                8.2  เป้าหมายที่ไม่เป็นตัวเงิน  (Non – Financial goal )  เป็นเป้าหมายทางสังคมที่ต้องการให้สมาชิกในครอบครัวมีความสุข  มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ต้องการช่วยเหลือสังคมให้ได้รับความเป็นธรรมในสังคมเป็นต้น  การกำหนดเป้าหมายด้านนี้ไม่สามารถกำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนได้
9.  หลักการกำหนดเป้าหมายชีวิต
                ลักษณะที่ดีของการกำหนดเป้าหมายทางการเงินหรือเป้าหมายชีวิต  ต้องเป็นไปตามหลัก  SMART  ได้แก่
                9.1  Specific  (S)  มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจง  ได้แก่  การกำหนดความต้องการที่คุณค่าต่อตนเองไว้อย่างชัดเจน  เช่น  นายโต้งต้องการเงินเก็บออมไว้ลงทุนจำนวน  100,000 บาท  เพื่อใช้ในยามเกษียณ  เป็นต้น
                9.2  Measurable (M)  ระบุและวัดผลได้  ได้แก่  การกำหนดเป้าหมายสามารถระบุและวัดผลลัพธ์ได้แน่นอน  เช่น  นายโต้งมีเงินใช้ยามเกษียณแน่นอนถ้าเก็บออมเงิน
                9.3 Accountable (A)  ความมุ่งมั่นและลงมือปฏิบัติได้จริงทำได้สำเร็จ  ได้แก่ การตั้งใจจริงและลงมือปฏิบัติทันทีโดยรู้ว่าจะทำอย่างไรให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ บุคคลควรมีความรับผิดชอบและมีวินัยในตัวเองเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
                9.4  Realistic (R)  มีเหตุผลเป็นจริงได้  เป็นการกำหนดเป้าหมายทางการเงินต้องเหมาะสมกับสถานะของแต่ละบุคคลนั้นที่จะสามารถทำให้สำเร็จได้  ตัวอย่างเช่น  นายโต้งต้องการซื้อรถยนต์ราคาคันละ  700,000 บาท ภายใน 4 ปีในขณะที่เขามีรายได้เดือนละ  6,500 บาท เช่นนี้เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ไม่มีเหตุผลเป็นจริงไม่ได้
                9.5  Time bound (T)  มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน  เป็นการกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่มีกรอบระยะเวลาทีแน่นอนที่ต้องทำให้สำเร็จ  เพื่อประเมินความสำเร็จของเป้าหมายได้ เช่น  นายโต้งต้องการซื้อรถจักรยานยนต์มูลค่า  35,000 บาท  และผ่อนชำระค่ารถจักรยานยนต์เดือนละไม่เกิน  1,500 บาทภายในเวลา 3 ปี นั่นคือ  นายโต้งต้องวางแผนการออมเงินเพื่อเป็นเงินดาวน์จำนวนเท่าไรจึงจำไม่เดือดร้อนกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตน
10.  ประเภทของเป้าหมายชีวิตหรือเป้าหมายทางการเงิน
                เป้าหมายชีวิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
                10.1  เป้าหมายระยะสั้น (Short-term goal)  เป็นการกำหนดเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีอาจเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตหรือไม่ก็ได้ เช่น  ต้องการเงินสำหรับค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากเจ็บป่วย  ต้องการเก็บออมเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ภายใน  6 เดือนนี้  เป็นต้น
                10.2  เป้าหมายระยะยาว (Long-term goal)  เป็นการกำหนดเป้าหมายที่สามารถทำสำเร็จได้เมื่อใช้ระยะเวลานานมากกว่า 1 ปี เช่น ต้องการเก็บออมเงินไว้ซื้อบ้านที่อยู่อาศัยต้องการเก็บออมเงินไว้เพื่อจ่ายยามเกษียณเป็นต้น
11.  การแบ่งช่วงอายุ/ช่วงชีวิต (Life cycle) กับการวางแผนทางการเงิน
                ช่วงอายุของบุคคลแต่ละช่วงจะมีผลต่อความสามารถในการหารายได้และการใช้จ่ายเงินแตกต่างกันตามภาระความรับผิดชอบของบุคคล  ดังนั้นช่วงชีวิตจึงนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการแรกที่ต้องพิจารราในการวางแผนทางการเงินช่วงอายุของบุคคล  แบ่งออกเป็น 3 ช่วงอายุดังนี้
                11.1  ช่วงเริ่มทำงานหรือช่วงสะสมทุนทรัพย์  ได้แก่  ช่วงอายุตั้งแต่เริ่มทำงานถึงอายุ 54 ปี  เป็นช่วงอายุที่มีรายได้น้อยสม่ำเสมอในระยะแรกและรายได้จะเพิ่มขึ้นตามความรับผิดชอบและอายุงานที่เพิ่มขึ้น  ส่วนรายจ่ายของบุคคลในช่วงอายุนี้มีรายจ่ายค่อนข้ามากเพราะเป็นช่วงที่สร้างฐานะขิงครอบครัว  มีภาระเลี้ยงครอบครัว  และซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ เพื่อสร้างฐานะให้แก่ครอบครัว  เช่น รถยนต์ บ้าน เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เป็นต้น
                11.2 ช่วงก่อนปลดเกษียณ  ได้แก่  ผู้ที่มีอายุตั้งแต่  55 ถึง 64 เป็นช่วงที่มีความสามารถหารายได้สูงที่สุด  เนื่องจากบุคลมีฐานะมั่นคง  ส่วนรายจ่ายจะลดเพราะบุตรสำเร็จการศึกษา  ทำงานหาเลี้ยงตนเองได้และมีฐานะมั่นคง  และหนี้สินลดลงจึงทำให้มีที่เหลือไว้สำหรับลงทุนมากขึ้น  และควรเก็บออมเงินบางส่วนสำรองไว้ใช้สำหรับช่วงเกษียณอายุทำงานด้วย  จึงควรวางแผนการเงินเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อเกษียณอายุนั้น  ควรวางแผนล่วงหน้าก่อนเกษียณอย่างน้อย  5 ปี  เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุขได้  ดังนั้นผู้ที่จะปลดเกษียณต้องสำรวจฐานะทางเศรษฐกิจก่อนปลดเกษียณว่าในปีเกษียณนั้น  มีทรัพย์สิน  หนี้สิน  และรายได้  รายจ่ายเท่าใด
                11.3  ช่วงหลังเกษียณอายุ  (ปลดเกษียณแล้ว)  ได้แก่  ผู้ที่มีอายุตั้งแต่  65 ปี ขึ้นไปความสามารถหารายได้ลดลงจึงต้องใช้ทรัพย์สินที่ได้สะสมและการลงทุนไว้  ผู้เกษียณจะมีแหล่งรายได้มาจากเงินบำเหน็จ  บำนาญ เงินสะสม เงินประกันสังคม รายได้จากการลงทุนด้านรายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายในชีวิตประจำวัน  ค่าดูแลสุขภาพ  ค่ารักษาพยาบาลหรือการผักผ่อนท่องเที่ยวการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลในช่วงอายุนี้จะเกี่ยวกับการวางแผนลงทุนและการวางแผนจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
12.  ปัญหาทางการเงินส่วนบุคคล
                12.1  สาเหตุปัญหาทางการเงินส่วนบุคคล
                                การบริหารการเงินส่วนบุคคล (personal Literacy)  เป็นทักษะชีวิตของบุคคลทุกคนที่ควรรู้จักวีการจัดการเงินที่จะทำให้บุคคลไม่เกิดปัญหาทางการเงินที่จะทำให้บุคคลคนนั้นขาดอิสรภาพทางการเงินขาดความมั่นคงทางการเงินที่เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
                12.1 1  การผัดผ่อนการออมเงิน  เพราะการไม่มีวินัยในการออมและขาดความตั้งในจริงในการที่จะออมและการยึดติดความคิดเดิม  ๆ ที่ว่าการออมจะต้องออมจากเงินเหลือจากการใช้จ่ายก่อน  จากแนวคิดนี้จึงทำให้คนคิดว่าตนเองมีรายได้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเป็นวัน ๆ เท่านั้น ไม่มีเงินเหลือเก็บออมเพราะมีรายจ่ายมากจนไม่มีเงินเหลือเก็บ
                12.1.2  การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย  สุรุ่ยสุร่ายเกินตัว  เป็นการใช้จ่ายเงินเพื่อความสะดวกสบาย  หรือใช้จ่ายซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อความมีหน้ามีตาทัดเทียมคนอื่น  โดยไม่คำนึงถึงรายได้ที่มีอยู่จนก่อให้เกิดการใช้จ่ายเงินเกินตัวเพราะอยากให้สังคมยอมรับ  เพื่อความมีหน้ามีตาในสังคม  เป็นต้น
                12.1.3  ดำรงชีวิตด้วยความประมาท  เป็นการดำเนินชีวิตเรื่อย ๆ โดยไม่คิดว่าจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นโดยไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อไรในอนาคต เช่น  กาว่างงาน  ธุรกิจล้มเหลว การประสบอุบัติเหตุ  การเจ็บป่วย  หรือการเสียชีวิตทำให้มีเงินไม่พอใช้จ่ายกับภาระที่เกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อแก้ปัญหานั้น ๆ ทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่คาดคิดไว้ล่วงหน้าเพราะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองแน่นอน  จึงเป็นการดำเนินชีวิตด้วยความประมาท
                12.4  ขาดการวางแผนทางการเงิน  บางคนคิดว่าตนเองไม่มีปัญหาทางการเงินเนื่องจากมีฐานะและอาชีพที่มั่นคงแล้ว  หรือคิดว่าการวางแผนทางการเงินเหมาะสำหรับคนที่ใกล้เกษียณแล้วเท่านั้น  หรือเพราะคิดว่าตนเองรายได้น้อยอยู่ไม่มีเงินออมเพราะภาระค่าใช้จ่ายสูงหรือเพราะตนยังไม่มีงานทำยังเรียนไม่จบ  เป็นต้น  จึงทำให้บุคคลนั้น ๆ ไม่คิดที่จะวางแผนทางการเงินและมีความคิดว่าการวางแผนทางการเงินเป็นเรื่องยุ่งยากไกลเกินตัว
                12.2  ลักษณะของปัญหาทางการเงินส่วนบุคคล
                                12.2.1  ขาดสภาพคล่องทางการเงิน  มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทุกเดือน
                                12.2.2  มีใบแจ้งหนี้เตือนมาล่วงหน้าสำหรับหนี้ที่ต้องจ่ายในเดือนนี้แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดได้
                                12.2.3  ได้รับหนังสือทวงถามหรือหนังสือเตือนจากเจ้าหนี้เนื่องจากการผิดนัดชำระหนี้หรือการชำระหนี้ช้ากว่ากำหนดในสัญญาเงินกู้
                                12.2.4  เมื่อมีค่าใช้จ่ายจำเป็นเกิดขึ้นหรือแม้กระทั่งค่าใช้จ่ายประจำมักใช้วีหยิบยืมเงินจากคนใกล้ชิดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
                                ปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นจะทำให้บุคคลขาดอิสรภาพทางการเงินขาดความเชื่อถือในสังคมตลอดจนเกิดความเครียดและก่อให้เกิดปัญหาต่อตนเอง ครอบครัว และที่ทำงานที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น